พร้อมเผชิญหน้าฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจปี 2566 ในวิกฤติมีโอกาสสำหรับ SMEs ไทย

1 min read

เศรษฐกิจโลกปี 2566 เผชิญทั้ง “ความเสี่ยงและโอกาส” ตั้งแต่อัตราดอกเบี้ยขึ้น ไปจนถึงจีนเปิดประเทศ บริษัทแห่ยื่นล้มละลาย

จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2566 ที่ระบุว่าเศรษฐกิจโลก ปี 2566 เผชิญทั้งความเสี่ยงและโอกาส ตั้งแต่อัตราดอกเบี้ยขึ้น ไปจนถึงจีนเปิดประเทศ บริษัทแห่ยื่นล้มละลาย นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองโลกในแง่ร้ายมากกว่า ปี 2566เศรษฐกิจโลกอาจถดถอย นายปิแอร์ โอลิเวียร์ กูริงซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟ เคยเตือนเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ว่าหลายคนอาจรู้สึกเหมือนเศรษฐกิจถดถอยในปี 2566 เนื่องจากการผสมโรงกันระหว่างเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อสูง และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า เวิลด์แบงก์ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่าจะขยายตัวในระดับ 3.6% แต่ความเสี่ยงที่ห่วง คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ได้ ซึ่งความกังวลเหล่านี้ ยังมีผลต่อการท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เป็นปัจจัยบวกของไทยลดลง ความเสี่ยงทียังมีอยู่ ทำให้มีความไม่แน่นอนมากขึ้น ต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจปรับลดกว่าที่คาดการณ์ มีโอกาสมากว่าที่จะปรับขึ้น

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีหน้า หลัก ๆ มาจากความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ส่งผลให้ ธปท. ปรับประมาณการส่งออกลดลงมาก เหลือเติบโตเพียง 1% ในปี 2566

เศรษฐศาสตร์

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่เกิดจากปัจจัยทั้งเศรษฐกิจโลกถดถอย ค่าดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น ค่าแรงที่จะปรับเพิ่ม ทำให้ให้ต้นทุนในการประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่ใน SupplyChain ของธุรกิจที่ต้องเฝ้าระวัง สถาบันการเงินจะเข้มงวดในการขยายสินเชื่อ อาทิ เช่น ธุรกิจหอพักนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจฟิตเนสแบบ Indoor ที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เน้นการออกกำลังกายในบ้านหรือกลางแจ้ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากความสามารถในการก่อหนี้ของครัวเรือนมีจำกัด ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว ให้สามารถอยู่รอดให้ได้

จากการจัดอันดับองค์ประกอบของศักยภาพและโอกาสในการเติบโตของ SMEs ทีจัดทำโดย สสว ในไตรมาส 2 ปี 2565 ที่เป็นนิติบุคคล มีเรื่องที่จะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาอันดับ 1 คือการกระจายความเสี่ยง อันดับ 2 คือการทำตลาดเชิงรุก อันดับ 3 คือความรู้และทักษะทักษะด้านการเงินและกฎหมาย อันดับ 4 คือด้านความรู้และทักษะทางด้านการตลาด อันดับ 5 คือความรู้และทักษะด้านการดำเนินงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาเงินทุน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

SMEs ที่อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังจะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนา เพื่อลดจำนวน NPL ที่จะเกิดขึ้น จากคลื่นลมทางเศรษฐกิจในปี 2566 ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในการเข้าสู่กระทบวนการปรับปรุงพัฒนาตนเอง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งคู่ค้า สถาบันการเงิน และภาครัฐจะต้องหันหน้ามาปรึกษาหารือร่วมกันหาทางออก เพื่อกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือให้เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่นโยบายเหมาเข่งเหมือนเดิม

ที่ผ่านมามีโครงการจัดตั้งโครงการคลีนิคแก้ไขหนี้ ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2566 ต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กระจายไปทั่วประเทศ แยกอาการรักษากลุ่มลูกหนี้อย่างจริงจัง คุยกันถึงเรื่องหนี้นอกระบบของผู้ประกอบการ การ Hair cut เหมือนที่เคยช่วยเหลือลูกหนี้รายใหญ่ในอดีต

ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง เช่น ธุรกิจค้าปลีกและร้านโชห่วย ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจชาร์จไฟฟ้าและโซล่า นวัตกรรมประหยัดพลังงาน E-Commerce& Digital Service Health& Wellness อาหาร Organic จะต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

More From Author