“เซนเซอร์บ๊อช” เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

1 min read

“บ๊อช” มุ่งขับเคลื่อนพัฒนา “เซนเซอร์” เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกหนึ่งโซลูชันเข้ามาช่วยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

ลาสเวกัส เนวาด้า – เซนเซอร์ มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะติดตั้งในรถยนต์ จักรยานไฟฟ้า สมาร์ทโฟน สายรัดข้อมือติดตามการออกกำลังกาย รวมทั้งหูฟังที่สามารถรับสัมผัสของสภาพแวดล้อม บ๊อช หรือ Bosch พัฒนาและผลิตเซนเซอร์อัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ธัญญ่า รุกเคอร์ท สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ Robert Bosch GmbH กล่าวที่งาน CES 2023 ในลาสเวกัสว่า เราเริ่มผลิตเซนเซอร์ MEMS ในปี พ.ศ. 2538 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราผลิตเซนเซอร์ได้จำนวนมากเทียบเท่ากับการผลิตในช่วงระยะเวลาหลายปีก่อนหน้านั้นรวมกัน โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตเมื่อ 27 ปีที่ผ่านมา ผลิตเซนเซอร์ MEMS รวมแล้วมากกว่า 18 พันล้านชิ้น ทุกวันนี้ในรถยนต์มีเซนเซอร์ของเราโดยเฉลี่ย 22 ชิ้นต่อคัน ปัจจุบัน บ๊อช ถือเป็นผู้ผลิตเซนเซอร์ MEMS อันดับต้นๆ จากข้อมูลของ Yole Group* ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาดและวางแผนกลยุทธ์ ภายในปี พ.ศ. 2570 คาดการณ์ว่า ความต้องการเซนเซอร์ดังกล่าวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 33.5 พันล้านชิ้นในปัจจุบัน ประมาณ 49 พันล้านชิ้นต่อปี โดย บ๊อช ต้องการมีส่วนร่วมกับการเติบโตนี้และคาดว่าตัวเลขการผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างมีนัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า อีกทั้งยังต้องการคงความเป็นผู้นำตลาดและขยายฐานผู้นำตลาดให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น

รุกเคอร์ท กล่าวต่อว่า บ๊อช กำลังเพิ่มการลงทุนโรงงานผลิตในเมืองเดรสเดนและรอยท์ลิงเงน โดยรวมแล้วบริษัทฯ วางแผนที่จะลงทุนกว่า 3 พันล้านยูโร ในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงการพัฒนาและการผลิตเซนเซอร์ภายในปี 2569 โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนการลงทุนของการทำงานเกี่ยวกับไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งจะดึงเงินทุนจาก European IPCEI ME ซึ่งเป็นโครงการสำคัญเกี่ยวกับความสนใจร่วมกันของยุโรปเกี่ยวกับไมโครอิเล็กทรอนิกส์

เทคโนโลยี

“เซนเซอร์” ช่วยชีวิตและปูทางสู่การเชื่อมต่อ

เซนเซอร์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นเสมือนกระดูกสันหลังสำหรับโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน เซนเซอร์เหล่านี้ทำให้ยานพาหนะปลอดภัยยิ่งขึ้น สามารถช่วยคุ้มครองชีวิตในทุกวันรวมถึงช่วยปกป้องทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ จึงทำให้เซนเซอร์เหล่านี้เป็นพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของบ๊อชและยังเป็นจุดสำคัญของภาคต่อในดิจิทัลแคมเปญ ภายใต้สโลแกน Sensor tech #LikeABosch

“ด้วยความช่วยเหลือของเซนเซอร์ เราสามารถนำเทคโนโลยีที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อชีวิตก้าวไปอีกขั้น เซนเซอร์ไม่เพียงปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยผู้ช่วยอัจฉริยะที่อยู่เคียงข้างคุณในทุกวัน แคมเปญใหม่ของเรา #LikeABosch เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการสื่อความหมายนี้”

รุกเคอร์ท กล่าวต่ออีกไปว่า เซนเซอร์ MEMS ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นครั้งแรก โดย “เซนเซอร์บ๊อช” ช่วยนำทางรถยนต์ ควบคุมถุงลมนิรภัยและระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ ESP และเปิดใช้งานฟังก์ชันให้ความช่วยเหลือที่หลากหลาย เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ความสะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซนเซอร์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการขับขี่อัตโนมัติ กล่าวคือ เซนเซอร์เปรียบเสมือน “ดวงตา” ที่ทำให้รถยนต์สามารถ “มองเห็น” และเข้าใจสภาพแวดล้อมได้

“เซนเซอร์ของ บ๊อช กำลังปูทางไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ บริษัทฯ มีเซนเซอร์ที่หลากหลายครอบคลุมทั้ง เรดาร์ ไลดาร์ วิดีโอ และอัลตราโซนิกเพื่อการขับขี่อัตโนมัติ แต่เซนเซอร์ MEMS ก็มีบทบาทสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เซนเซอร์วัดความกดอากาศในสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถระบุระดับความสูงของอุปกรณ์ได้แม้อยู่ห่างเพียงระยะไม่กี่เซนติเมตร ยกตัวอย่างในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งหมายความว่าผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นจะรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าผู้ประสบเหตุอยู่ชั้นไหน ระดับความสูงที่เท่าใด ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (FCC) ประมาณการว่าเซนเซอร์วัดความดันดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือชีวิตผู้คนได้ถึง 10,000 คนต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขเฉพาะในสหรัฐอเมริกา”

นวัตกรรมล่าสุดของบ๊อชช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

ที่งาน CES 2023 บ๊อช นำเสนอนวัตกรรมล่าสุดที่ใช้เซนเซอร์เพื่อการขับเคลื่อน รวมถึงโซลูชันระบบขับเคลื่อนแบบเครือข่าย RideCare ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากสมาคมอุตสาหกรรม CTA

สำหรับเครือข่าย RideCare จะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารยานพาหนะทุกคนในการขับขี่แบบเชื่อมต่อและอัตโนมัติ สำหรับโซลูชันฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อถึงกันประกอบด้วย กล้อง ปุ่มสัญญาน SOS แบบไร้สาย และบริการข้อมูลบนคลาวด์ ผู้ขับขี่สามารถใช้เครื่องมือทั้งหมดนี้ เพื่อติดต่อกับพนักงานของบ๊อชได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากประสบอุบัติเหตุหรือสถานการณ์อันตรายอื่นๆ พนักงานของบ๊อช สามารถมองผ่านกล้องเข้าไปในรถเพื่อประเมินสถานการณ์ และถ้าจำเป็นก็สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว โดยเพื่อนร่วมทาง RideCare จะทำหน้าที่เป็นเครือข่ายความปลอดภัยได้อย่างมีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนขับรถแท็กซี่หรือผู้ขับขี่แบบ ridesharing โดยการตรวจจับนอกแนวถนน มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยบนท้องถนนที่มากขึ้น ระบบจะปกป้องผู้โดยสารภายในรถยนต์ในกรณีที่เกิดการชนจากด้านข้าง ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนเลนหรือข้ามทางแยก เซนเซอร์อัจฉริยะที่ทำงานผสานกับอัลกอริธึมในซอฟต์แวร์ใหม่จะตรวจจับมุมกระแทกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ในกรณีที่เกิดการชนจากด้านข้าง คำสั่งเปิดใช้งานถุงลมนิรภัยช่วยชีวิตจะทำงานได้อย่างทันท่วงทีเพื่อลดการบาดเจ็บที่ตามมาจากอุบัติเหตุ

“การตรวจจับนอกแนวถนนของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีถึงวิธีที่เราใช้ซอฟต์แวร์เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ สิ่งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมในภาคการขนส่งทางบก” ไมค์ แมนซูเอตติ ประธาน บ๊อช ในอเมริกาเหนือ กล่าวที่งาน CES ในลาสเวกัส

เซนเซอร์ควอนตัมมีศักยภาพที่ดี

บ๊อช ดำเนินตามภารกิจที่เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาเซนเซอร์ใหม่ โดยเซนเซอร์ควอนตัม จะเป็นหนึ่งในสาขานวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในอีกหลายปีข้างหน้า และอีกไม่นานจะสามารถเปิดใช้งานการวัดค่าที่แม่นยำกว่าเซนเซอร์ MEMS ในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า ยกตัวอย่างคือ ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทได้ง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ บ๊อช ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพเมื่อปีที่แล้วเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจเซนเซอร์ควอนตัมและขยายตลาดด้านนี้ ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย บ๊อช เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มในสาขาต่างๆ และกำหนดสถานะตัวเองในอนาคต

“ในอีกสามปีข้างหน้า เราจะลงทุนหนึ่งหมื่นล้านยูโรสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของบ๊อช พนักงานปัจจุบันของเราที่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์กว่า 40,000 คนก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน” รุกเคอร์ท กล่าว

ความยั่งยืนกำลังขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

สำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบ๊อช โดยรุกเคอร์ท กล่าวว่า เพื่ออนาคตของโลก จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรมุ่งมั่นที่จะใช้ชีวิตที่คำนึงถึงประสิทธิภาพของพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในบริษัทฯ ของเรา ซึ่งรวมถึงเซนเซอร์ด้วย

ที่งาน CES บ๊อช นำเสนอเซนเซอร์ MEMS เจเนอเรชันใหม่ มีความแม่นยำ และเสริมประสิทธิภาพพลังงานมากกว่ารุ่นก่อนๆ ยกตัวอย่างคือ เซนเซอร์วัดแรงเฉื่อย BHI360/BHI380 ที่ตั้งโปรแกรมได้และเปิดใช้งาน AI ซึ่งปรับตามการเคลื่อนไหวส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเมื่อติดตั้งในอุปกรณ์สายรัดข้อมือติดตามกิจกรรม โดยมีขนาดเพียงครึ่งเดียวและใช้พลังงานครึ่งหนึ่งของรุ่นก่อนหน้า เช่นเดียวกับเซนเซอร์อนุภาคฝุ่น BMV080 รุ่นใหม่ ซึ่งวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศด้วยการออกแบบที่ประหยัดพื้นที่ จึงมีขนาดเล็กกว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดปัจจุบันถึง 450 เท่า จากนั้นมีเซนเซอร์วัดความกดอากาศและอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม BMP585 ซึ่งสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงจากน้ำทะเลได้แม้เพียงระยะไม่กี่เซนติเมตร จึงสามารถตรวจจับการออกกำลังการวิดพื้นแต่ละครั้งได้ ซึ่งใช้พลังงานน้อยลงร้อยละ 85 และเพิ่มความทนทานถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า

More From Author